ท่าไชยไบโอแก๊ส - พลังงานไบโอแก๊ส พลังงานลดโลกร้อน

พลังงานไบโอแก๊ส สำหรับฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ และอื่นๆ




ขับเคลื่อนโดย Blogger.

ทฤษฎีก๊าซชีวภาพ-4

4. รูปแบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพสำหรับฟาร์มสุกร
    รูปแบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพที่มีการส่งเสริมให้นำมาใช้จัดการน้ำเสียจากฟาร์มเลี้ยงสุกรเพื่ออนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบัน ได้แก่

4.1 บ่อโดมคงที่ (Fixed Dome)

   เป็นบ่อหมักก๊าซชีวภาพที่มีการส่งเสริมให้ใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดเล็ก ( ฟาร์มที่เลี้ยงสุกรเทียบเท่าสุกรขุน ไม่เกิน 500 ตัว ) โดยได้มีการส่งเสริมในช่วงปี พ . ศ . 2538 – 2544 ในโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ส่วนที่ 2 : เกษตรกรรายย่อย ( ระยะที่ 1 และระยะที่ 2) ซึ่งดำเนินโครงการโดยกรมส่งเสริมการเกษตร ( กสก .) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุนงบประมาณโครงการโดย กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ( สพช .) หรือ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ( สนพ .) ในปัจจุบัน

4.2 บ่อหมักแบบรางตามด้วยบ่อหมักเร็วน้ำใส (Channel Digester + UASB)

   เป็นบ่อหมักก๊าซชีวภาพที่พัฒนาขึ้นโดยหน่วยบริการก๊าซชีวภาพ ( ปัจจุบันคือ สถานเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ ) ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลักทำงานต่อเนื่องกัน คือ บ่อหมักแบบราง (Channel Digester) ทำงานต่อเนื่องด้วย บ่อหมักเร็วน้ำใส (UASB : Upflow Anaerobic Sludge Blanket) ซึ่งบ่อหมักดังกล่าวได้มีการส่งเสริมให้ใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดกลางและขนาดใหญ่มาตั้งแต่ ปี พ . ศ . 2538 - 2546 ใน โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ส่วนที่ 1 : ฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่ ( ระยะที่ 1 และระยะที่ 2) ดำเนินโครงการโดย หน่วยบริการก๊าซชีวภาพหรือสถานเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สนับสนุนงบประมาณโครงการโดย กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ( สพช .) หรือ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ( สนพ .) ในปัจจุบัน

4.3 บ่อหมักเร็วน้ำข้น (H-UASB)

   บ่อหมักเร็วน้ำข้น (H-UASB : High suspension solids - Upflow Anaerobic Sludge Blanket) เป็นบ่อหมักที่หน่วยบริการก๊าซชีวภาพพัฒนาขึ้นโดยปรับปรุงจากบ่อหมักแบบ Channel Digester + UASB เพื่อให้สามารถรองรับและบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพและเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น บ่อหมักดังกล่าวได้เริ่มนำมาใช้งานในฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่ในโครงการฯ ระยะที่ 2 จำนวน 2 ฟาร์ม คิดเป็นปริมาตรบ่อหมักรวม 12,000 ลบ . ม . ซึ่งจากการติดตามผลการทำงาน พบว่า บ่อหมักดังกล่าวสามารถทำงานได้ดีเกินคาดหมาย จึงถูกนำมาใช้ส่งเสริมในฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่ให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้นในโครงการฯ ระยะที่ 3

4.4 บ่อ Covered Lagoon

   บ่อ Covered Lagoon เป็นบ่อหมักก๊าซชีวภาพอีกรูปแบบหนึ่ง ส่วนใหญ่มีโครงสร้างเป็นบ่อดิน ด้านบนคลุมด้วยผืนพลาสติกขนาดใหญ่เพื่อรวบรวมก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นก่อนนำก๊าซไปใช้ประโยชน์ บ่อหมักแบบนี้ได้มีการนำมาใช้งานเมื่อประมาณ 3-5 ปีที่ผ่านมา จึงถือว่ายังอยู่ในช่วงต้นๆ ของอายุการใช้งานของบ่อซึ่งประเมินไว้ที่ประมาณ 15 ปี ปัจจุบันจึงยังไม่มีข้อมูลผลการทำงานของบ่อ Covered Lagoon ที่สมบูรณ์เพียงพอ และจำเป็นต้องติดตามผลการใช้งานของบ่อดังกล่าวต่อไป
 
ที่มา
http://teenet.chiangmai.ac.th/btc/introbiogas02.php
ตุณกำลังอยู่ที่หน้า ทฤษฎีก๊าซชีวภาพ-4. http://thachaibiogas.blogspot.com/2011/02/4.html.
เขียนโดย: Admin - วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แสดงความคิดเห็น "ทฤษฎีก๊าซชีวภาพ-4"

แสดงความคิดเห็น